เมนู

2. บุคคลมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ส่วนบริษัทของ
บุคคลนั้นเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น แต่
บริวารมีกระพี้ ต้นไม้นั้นมีแก่น แต่บริวารมีกระพี้ แม้ฉันใด บุคคลนี้ ก็อุปไมย
ฉันนั้น.
3. บุคคลมีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก แม้บริษัทของ
บุคคลนั้นก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีกระพี้
บริวารก็มีกระพี้ ต้นไม้มีกระพี้ บริวารก็มีกระพี้นั้น แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็อุปไมย ฉันนั้น.
4. บุคคลมีแก่น บริวารก็มีแก่น เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ฝ่ายบริษัทของ
บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า บุคคลมีแก่น บริวาร
ก็มีแก่น ต้นไม้มีแก่น บริวารก็มีแก่นนั้น ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย ฉันนั้น
บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ 4 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก.


อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้ 4 จำพวก


พึงทราบต้นไม้มีกระพี้ บริวารมีแก่นก่อน. ต้นไม้เจริญที่สุดใน
ป่าตัวเองมีกระพี้ แต่บริวารมีแก่น. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยนี้ ก็ใน

บุคคลทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบความที่บุคคลผู้เป็นเช่นกับต้นไม้มีกระพี้
เพราะเว้นจากสาระคือศีล และพึงทราบความที่บุคคลผู้เปรียบด้วยต้นไม้มีแก่น
เพราะประกอบด้วยสาระคือศีล.

[133] 1. รุปัปปมาโณรูปัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือรูปเป็น
ประมาณ เลื่อมใสในรูปเป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปที่สูง รูปที่ไม่อ้วนไม่ผอม รูปที่มีอวัยวะ
สมส่วนหรือรูปที่งามพร้อมไม่มีที่ติ ถือเอาเป็นประมาณในรูปนั้น แล้วจึงยัง
ความเลื่อมใสให้เกิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป.
2. โฆสัปปมาโณโฆสัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือ
เสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียงเป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือเอาประมาณในเสียงนั้น โดยการสรรเสริญ
คุณที่คนอื่นพูดในที่ลับหลัง โดยการชมเชยที่คนอื่นนิพนธ์ขึ้น โดยการยกย่อง
ที่คนอื่นพูดต่อหน้า โดยการสรรเสริญที่ผู้อื่นนำไปพรรณนาต่าง ๆ กันไป แล้ว
จึงยังความเลื่อมใสให้เกิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
เสียง.
3. ลูขัปปมาโณลูขัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือความ
เศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นความเศร้าหมองแห่งจีวร เห็นความเศร้า
หมองแห่งบาตร เห็นความเศร้าหมองแห่งเสนาสนะ หรือเห็นการทำทุกรกิริยา

มีอย่างต่าง ๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงยังความเลื่อมใส
ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ความเศร้าหมอง.

4. ธัมมัปปมาโณธัมมัปปสันนบุคคล บุคคลผู้ถือ
ธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา ถือเอาธรรมนั้น
เป็นประมาณแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็น
ประมาณ เลื่อมใสในธรรม.

อรรถกถาบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป เป็นต้น


บุคคลใด ย่อมกระทำรูปอันสมควรแก่สมบัติให้เป็นประมาณ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปมาโณ แปลว่า ผู้กระทำรูปให้เป็นประมาณ.
บุคคลใด ย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดในรูปอันควรแก่สมบัตินั้น เหตุนั้น
บุคคลนั้นจึงชื่อว่า รูปปฺปสนฺโน แปลว่า ผู้เลื่อมใสในรูป.
บุคคลใดย่อมกระทำเสียงอันเป็นกิตติศัพท์ให้เป็นประมาณ เพราะเหตุ
นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า โฆสปฺปมาโณ แปลว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณ.
วินิจฉัยในคำว่า "อาโรหํ ว" เป็นต้น ก็คำว่า "อาโรหํ" ได้แก่
สูงขึ้นไป. คำว่า "ปริณาหํ" ได้แก่ มีรูปสมบัติอันสมบูรณ์โดยรอบ ปราศ-
จากความผอมและอ้วน. บทว่า "สณฺฐานํ" ได้แก่ ความเป็นของคงที่แห่ง
อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลาย ในที่ที่ควรแล้ว มีความยาว สั้น และกลมเป็นต้น.
บทว่า "ปริปูรึ" ได้แก่ ความไม่บกพร่องของอวัยวะทั้งหลายมีประการตาม